ประวัติรัชสมัยรัชกาลที่1-10
โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง ประวัติรัชสมัยรัชกาลที่ 1-10
ผู้จัดทำโครงงาน
เด็กชายรณกร สายสุด เลขที่ 1
เด็กชายสิทธินนท์ ธรรมเนียมดี เลขที่ 3
เด็กชายอมร ครุฑทานุชาชาติ เลขที่ 7
เด็กชายสหรัฐ บุญสินธุ์ เลขที่ 11
เด็กหญิงกรุณา เทพนิกร เลขที่ 25
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
ครู ธีรพล คงมีผล
ครูที่ปรึกษา
โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคอมพิวเตอร์
โรงเรียนเทศบาล3วัดชัยชนะสงคราม
อำเภอเมือง จังหวัดตาก
บทคัดย่อ
ประวัติรัชสมัยรัชกาลที่ 1-10นี้เป็นโครงงานเพื่อการศึกษาให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประวัติรัชสมัยรัชกาลที่
1-10โดยสร้างเป็นสื่อผ่านเว็บบล็อกwww.blogger.com
คณะผู้จัดทำได้ดำเนินงานตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้
และได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานโดยเสนอผลงานผ่านเว็บบล็อกในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผลการจัดทำโครงงานพบว่าการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติรัชสมัยรัชกาลที่
1-10ในระบบเครือข่ายอินเตอร์ได้รับความสนใจและเป็นสื่อที่มีประโยชน์
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างยิ่งของครูที่ปรึกษา
ครูธีรพล คงมีผล ที่ได้ให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นต่างๆมาโดยตลอดและขอขอบคุณครอบครัวของคณะผู้จัดทำคนที่คอยให้ความช่วยเหลือในการรับส่งคณะผู้จัดทำ
และคอยถามไถ่ความเป็นมาของโครงงานอยู่เสมอซึ่งทำให้คณะผู้จัดทำโครงงานทุกคนมีกำลังใจในการทำโครงงานจนสำเร็จ
คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
คณะผู้จัดทำ
บทที่ 1
บทนำ
แนวคิด ที่มา และความสำคัญของโครงงาน
ในยุคโลกาภิวัตฒน์ในปัจจุบันสถานการณ์โลกเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่างๆและวันเวลาที่ผ่านมาก็จะกลายเป็นอดีตซึ่งเราไม่สามารถรู้ได้ว่าในอดีตนั้นมีเรื่องราวใดเกิดขึ้นเหมือนอย่างประเทศไทยที่ในอดีตมีราชวงศ์ต่างๆที่มีความเจริญรุ่งเรืองที่แตกต่างกันไป
ขณะผู้จักทำจึงมีความคิดที่จะสร้างโครงงานเกี่ยวกับ ”ประวัติรัชกาลที 1-10” ซึ่งมีความสำคัญต่อผู้มีความสนใจอยากที่จะศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประวัติรัชสมัยรัชกาลที่
1-10
จากเหตุผลดังกล่าวคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะพัฒนาเว็บบล็อกwww.blogger.comเพื่อการศึกษาประวัติรัชสมัยรัชกาลที่1-10 ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประโยชน์และการใช้เวลาว่างในการค้นคว้าอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษาและเพื่อให้ผู้ที่สนใจในประวัติรัชสมัยรัชกาลที่1-10 มีความเข้าใจมากขึ้น
และมีความสนใจในการที่จะศึกษาต่อยอดให้มากขึ้นไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้คนได้ใช้อินเทอร์เน็ตอย่างมีประโยชน์
2.เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับประวัติรัชสมัยรัชกาล ที่ 1-10
3.เพื่อค้นคว้าสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับประวัติรัชสมัยที่ 1-10
ขอบเขตของโครงงาน
1.จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การพัฒนาเว็บบล็อกwww.blogger.comเพื่อการศึกษาและใช้เทคโนโลยีอย่างมีประโยชน์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้รับความรู้เกี่ยวกับประวัติรัชสมัยรัชกาลที่ 1-10
2.มีผู้สนใจโครงงาน
3.เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประวัติรัชสมัยที่
1-10
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352)
มีพระนามเดิมว่า
ทองด้วง
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
ทรงพระนามเต็มว่า" พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี
ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์
ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก
ดิลกรัตน
ชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิ
บดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย
พรหมเทพา
ดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร
โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร
บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "
ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทรศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า
ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด 5 คน คือ
คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ "สา" (
ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )
คนที่ 2 เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2
)
คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" (
ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ )
คนที่ 4 เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )
คนที่ 5 เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท
สมเด็จพระอนุชาธิราช )
เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพร
พระชนมายุ 21 พรรษา ออกบวชที่วัดมหาทลาย
แล้วกลับมาเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร
พระชนมายุ 25 พรรษา
ได้รับตัวแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร
ประจําเมืองราชบุรีในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ได้วิวาห์กับธิดานาค
ธิดาของท่านเศรษฐีทองกับส้ม
พระชนมายุ 32 พรรษา
ในระหว่างที่รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เลื่อนตําแหน่งดังนี้
พระชนมายุ 33 พรรษา พ.ศ. 2312 ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
พระชนมายุ 34 พรรษา
พ.ศ. 2313 ได้เลื่อนเป็นพระยายมราชที่สมุหนายกเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
พระชนมายุ 35 พรรษา พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เมื่อคราวเป็น
แม่ทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2
พระชนมายุ 41 พรรษา พ.ศ. 2321 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
เมื่อคราวเป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองลาวตะวันออก
พ.ศ. 2323 เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร
ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจล
จึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงปราบปราม
เสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก
แล้วได้มี
พระราชดํารัสให้ขุดเอาหีบพระบรมศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นตั้ง ณ
เมรุวัดบาง
ยี่เรือพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุลแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพ
เสร็จแล้วให้มี
การมหรสพ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่๒)
พระราชประวัติรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
พระราชประวัติรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(ประสูติ
พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353
- พ.ศ. 2367)
มีพระนามเดิมว่า
ฉิม
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์
พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า
"ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต (
ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ
1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์
พระอัครมเหสี
2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย
พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา
พระราชกรณียกิจที่สําคัญ
พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่
อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์
และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต
ก็ติดตามไป
พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ
ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น
"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า
และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ
ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ
วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น
ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ
สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย
ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน
กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2346
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 7 คํ่า เดือน 3 ปีกุน มีพระนามเดิมว่า
"ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ 4
ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต (
ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ
1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.
2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา
พระราชกรณียกิจที่สําคัญ
พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ 8 พรรษา
ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่
อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์
และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต
(ทองอยู่ )
พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ
ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น
"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ
ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง
และตีเมืองทวาย
พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ
วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น
ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน 8 ขึ้น 7 คํ่า ปีขาล )
ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล"
ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท
ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ. 2346
พระราชกรณียกิจสำคัญในรัชกาลที่ ๒
ด้านการปกครอง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านการปกครองโดยยังคงรูปแบบการปกครองแบบเดิม แต่มีการตั้งเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์เข้าดูแลบริหารงานราชการตามหน่วยงานต่างๆ
เช่น กรมพระคลัง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ
กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นผู้กำกับดูแล เป็นต้น
ส่วนด้านการออกและปรับปรุงกฎหมายในการปกครองประเทศที่เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนมากขึ้น
ได้แก่ พระราชกำหนดสักเลก โดยพระองค์โปรดให้ดำเนินการสักเลกหมู่ใหม่
เปลี่ยนเป็นปีละ 3 เดือน ทำให้ไพร่สามารถประกอบอาชีพได้
นอกจากนี้ยังมีการออกกฎหมายว่าด้วยสัญญาที่ดินรวมถึงพินัยกรรมว่าต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร
และกฎหมายที่สำคัญที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้กำหนดขึ้น คือ กฎหมายห้ามซื้อขายสูบฝิ่น
ด้านเศรษฐกิจ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้านเศรษฐกิจ
ที่สำคัญคือการรวบรวมรายได้จาการค้ากับต่างประเทศ
ซึ่งในสมัยนี้ได้มีการเรียกเก็บภาษีอากรแบบใหม่คือ การเดินสวนและการเดินนา
การเดินสวนเป็นการแต่งตั้งเจ้าพนักงานไปสำรวจพื้นที่เพาะปลูกของราษฎร
เพื่อคิดอัตราเสียภาษีอากรที่ถูกต้อง ทำให้เกิดความยุติธรรมแก่เจ้าของสวน ส่วนการเดินนาคล้ายกับการเดินสวน
แต่ให้เก็บหางข้าวแทนแทนการเก็บภาษีอากร
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่๓)
พระราชประวัติรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2330 ขึ้นครองราชย์
พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394)
มีพระนามเดิมว่า พระองค์ชายทับ
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน 4 แรม 10 คํ่า ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า
"พระองค์ชายทับ"
พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ
ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ
กรมพระตํารวจว่าการฎีกา
นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานามว่า
"เจ้าสัว"
ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ 2 ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต
โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์
และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ (
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ
เป็นราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยตรง ส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น
โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ
ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี
คงมีแต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น 7 คํ่า เดือน 9 ปีวอกฉศก
พระราชกรณียกิจสำคัญในรัชกาลที่ ๓
ด้านการปกครอง
ลักษณะการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงเป็นแบบอย่างที่สืบทอดมาจากสมัยอยุธยาและกรุงธนบุรี คือ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในตำแหน่งสูงสุดของการปกรองประเทศ ทรงเป็นประมุขผู้พระราชทานความพิทักษ์รักษาบ้านเมืองให้ปลอดภัยตำแหน่งรองลงมา คือพระมหาอุปราช ซึ่งดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล เช่นเดียวกับในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตำแหน่งบังคับบัญชาในด้านการปกครองแยกต่อมา คืออัครมหาเสนาบดีฝ่ายทหาร คือ พระสมุหพระกลาโหม และฝ่ายพลเรือน คือ สมุหนายก ตำแหน่งรองลงมา เรียก เสนาบดีจตุสดมภ์ คือ เสนาบดีเมืองหรือเวียง กรมวัง กรมพระคลัง และกรมนา
ส่วนการบริหารราชการแผ่นดิน ยังคงจัดแบ่งออกเป็นหัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองชั้นใน และหัวเมืองประเทศราช ดังที่เคยปกครองกันมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งการแบ่งการปกครองในลักษณะนี้ก่อให้เกิดปัญหาในการปกครองหัวเมืองประเทศราช เช่น ลาว เขมร และมลายู เพราะหัวเมืองเหล่านี้พยายามหาทางเป็นเอกราช หลุดจากอำนาจของอาณาจักรไทย
ด้านการทำนุบำรุงประเทศ
ในสมัยรัตนโกสินทร์ เน้นหลักไปในด้านการก่อสร้างบ้านเมือง ตลอดจนการขุดลอกคูคลอง สร้างป้อม สร้างเมือง ฯลฯ เพราะอยู่ในระยะการสร้างราชธานีใหม่ และพระมหากษัตริย์ในสามรัชกาลแรกทรงยึดถือนโยบายร่วมกันในอันที่จะสร้างบ้านเมืองให้ใหญ่โตสง่างามเทียบเท่ากับกรุงศรีอยุธยา นับตั้งแต่การสร้างพระบรมมหาราชวัง วัดวาอารามต่าง ๆ เป็นต้น
ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัตถุสถานต่าง ๆ ที่สร้างมาตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ทรุดโทรมลงเป็นอันมาก พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ อาทิ พระบรม มหาราชวัง และวัดวาอารามต่าง ๆ และยังทรงเป็นพระธุระในการขุดแต่งคลองเพิ่มเติม คือ คลองสุนัขหอน คลองบางขุนเทียน คลองพระโขนง และคลองแสนแสบ (คลองบางขนาก)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๔)
พระชนมายุได้ 37 พรรษา พระราชประวัติรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรีพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ประสูติ พ.ศ. 2347 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2393
- พ.ศ. 2411)มีพระนามเดิมว่า
เจ้าฟ้ามหามาลา
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับปีชวด
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา
ขณะนั้นพระราชบิดายังดัารงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาอักขะสมัยกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ
เจ้าฟ้าจุธามณพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา
สมเด็จพระบรมชนกนาถก็โปรดให้มีการพระราชพิธีลงสรง ( พ.ศ. 2355 ) เป็นครั้งแรกที่กระทําขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์
ได้รับพระราชทานนามจารึกในพระสุพรรณปัฎว่า "
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทววงศ์พงศ์อิสรค์กษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร
" สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 4เมษายน พุทธศักราช 2394 ทรงพระนามว่า
"พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เรียกขานในหมู่ชาวต่างชาติว่า
"คิงส์มงกุฎ" ขณะที่พระองค์ขึ้นเสวย สิริราชย์สมบัตินั้น พระชนมายุ 37 พรรษา
เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงโปรดเกล้าฯ
สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ (
พระนามเดิมเจ้าฟ้าจุธามณีโอรสองค์ที่ 50 ของรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
) ขึ้นเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงมีฐานะเสมือนพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง
พระราชประวัติรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(ประสูตพ.ศ. 2396 ครองราชย์ พ.ศ. 2411
- พ.ศ. 2453)มีพระนามเดิมว่า
เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า "
เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 4 กับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี (
สมเด็จพระนางรําเพยภมรภิรมย์ ) พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร แรม 3 คํ่า เดือน 10 ได้ทรงรับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ
และกรมขุนพอนิจประชานาถ
ด้านการศึกษา พระองค์ทรงได้รับการศึกษาเป็นมาอย่างดี คือ
ทรงศึกษาอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยรัฐประศาสนศาสตร์
วิชากระบี่ กระบอง วิชาอัศวกรรม วิชามวยปลํ้า การยิงปืนไฟ เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติโดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สําเร็จราชการ
พ.ศ. 2410 พระเจ้านโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งพระแสงกระบี่มาถวาย
ครั้นพระชนมายุครบที่จะว่าราชการได้
พระองค์จึงได้ทรงทําพิธีราชาภิเษกใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2416 ทําให้เกิดผลใหญ่ 2 ข้อ
1. ทําให้พวกพ่อค้าชาวต่างประเทศหันมาทําการติดต่อกับพระองค์โดยตรง
เป็นการปลูกความนิยมนับถือกับชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างดีเยี่ยม
2. ทําให้พระองค์
มีพระราชอํานาจที่จะควบคุมกําลังทหารการเงินได้โดยตรงเป็นได้ทรงอํานาจในบ้านเมืองโดยสมบูรณ์
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5
ได้แก่
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีเลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
และจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ
โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติการในศาสนาได้อย่างอิสระ
นอกจากนี้ได้มีมีการนำระบบจากทางยุโรปมาใช้ในประเทศไทย
ได้แก่ระบบการใช้ธนบัตรและเหรียญบาท ใช้ระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น มณฑลเทศาภิบาล
จังหวัดและอำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา
ลงวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ.109 ซึ่งตรงกับ พุทธศักราช 2433 นอกจากนี้ได้มีงานพระราชนิพนธ์
ที่สำคัญ
การเสียดินแดน
ภาพการรบระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ที่ปากน้ำเมืองสมุทรปราการ
ซึ่งนำไปสู่การเสียดินแดนของไทยให้แก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก
พระบรมราชนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ปากน้ำเมืองสมุทรปราการ[แก้] การเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส
ครั้งที่ 1 เสียแคว้นเขมร (เขมรส่วนนอก)
เนื้อที่ประมาณ 123,050 ตารางกิโลเมตร และเกาะอีก 6 เกาะ วันที่ 15 กรกฎาคม 2410
ครั้งที่ 2 เสียแคว้นสิบสองจุไท
หัวพันห้าทั้งหก เมืองพวน แคว้นหลวงพระบาง แคว้นเวียงจันทน์ คำม่วน
และแคว้นจำปาศักดิ์ฝั่งตะวันออก (หัวเมืองลาวทั้งหมด) โดยยึดเอาดินแดนสิบสองจุไทย
และได้อ้ว่าดินแดนหลวงพระบาง เวียงจันทน์ และนครจำปาศักดิ์ เคยเป็นประเทศราชของญวนและเขมรมาก่อน
จึงบีบังคับเอาดินแดนเพิ่มอีก เนื้อที่ประมาณ 321,000 ตารางกิโลเมตร วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2431 ฝรั่งเศสข่มเหงไทยอย่างรุนแรงโดยส่งเรือรบล่วงเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา
เมื่อถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ฝ่ายไทยยิงปืน
ไม่บรรจุกระสุน 3 นัดเพื่อเตือนให้ออกไป แต่ทางฝรั่งเศสกลับระดมยิงปืนใหญ่เข้ามาเป็นอันมาก
เกิดการรบกันพักหนึ่ง ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสนำเรือรบมาทอดสมอ หน้าสถานทูตของตนในกรุงเทพฯ ได้สำเร็จ
(ทั้งนี้ประเทศอังกฤษ ได้ส่งเรือรบเข้ามาลอยลำอยู่ 2 ลำ ที่อ่าวไทยเช่นกัน แต่มิได้ช่วยปกป้องไทยแต่อย่างใด)
ฝรั่งเศสยื่นคำขาดให้ไทย 3 ข้อ ให้ตอบใน 48 ชั่วโมง เนื้อหา คือ
ให้ไทยใช้ค่าเสียหายสามล้านแฟรงค์ โดยจ่ายเป็นเหรียญนกจากเงินถุงแดง
พร้อมส่งเช็คให้สถานทูตฝรั่งเศสแถวบางรัก ให้ยกดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงและเกาะต่างๆ
ในแม่น้ำด้วย
ให้ถอนทัพไทยจากฝั่งแม่น้ำโขงออกให้หมดและไม่สร้างสถานที่สำหรับการทหาร
ในระยะ 25 กิโลเมตร ทางฝ่ายไทยไม่ยอมรับในข้อ 2 ฝรั่งเศสจึงส่งกองทัพมาปิดอ่าวไทย เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม พ.ศ. 2436 และยึดเอาจังหวัดจันทบุรีกับจังหวัดตราดไว้ เพื่อบังคับให้ไทยทำตาม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๖)
พระราชประวัติรัชกาลที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2423 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2453
- พ.ศ. 2468)
มีพระนามเดิมว่า
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ ที่ 1 มกราคม
พ.ศ. 2421 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ( สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี )
เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ"
ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ในปี พ.ศ. 2431 และต่อมาในปี พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ
ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารดํารงตําแหน่งรัชทายาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ
จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร
ดํารงตําแหน่งรัชทายาทแทน
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 6
ในด้านการศึกษา
ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่ โรงเรียนมหาดเล็กหลวง
ซึ่งในปัจจุบันคือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
ทั้งยังทรงสนับสนุนกิจการของโรงเรียนราชวิทยาลัยซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2440 (ปัจจุบันคือโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย
ในพระบรมราชูปถัมภ์) และในปี พ.ศ. 2459 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ประดิษฐาน “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”
ขึ้นเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศสยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชทานนามโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย
เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2449 ซึ่งไม่เป็นเพียงแต่การนำรูปแบบการศึกษาตะวันตกมายังหัวเมืองเหนือเท่านั้น
แต่ยังแฝงนัยการเมืองระหว่างประเทศเอาไว้ด้วย[16] เห็นได้จากการเสด็จประพาสมณฑลพายัพทั้งสองครั้งระหว่าง
พ.ศ. 2448-2450 พระองค์ได้ทรงสนพระทัยในกิจการโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ทั้งสิ้น
โดยพระองค์ทรงบันทึกไว้ในพระราชนิพนธ์ "เที่ยวเมืองพระร่วง" และ
"ลิลิตพายัพ"[16] ทั้งนี้
เป้าหมายของการจัดการศึกษายังแฝงประโยชน์ทางการเมืองที่จะให้ชาวท้องถิ่นกลมเกลียวกับไทยอีกด้วย[16]
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456 ขึ้น
เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ
อีกทั้งยังทรงริเริ่มก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น
ในปี
พ.ศ. 2460 ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง
และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ สายใต้จากธนบุรีเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์
อีกทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม 6 เพี่อเชื่อมทางรถไฟไปยังภูมิภาคอื่น
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่
๗)
พระราชประวัติรัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2436 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2468
- พ.ศ. 2477)
มีพระนามเดิมว่า
เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นโอรสองค์ที่ 76 ทรงเป็นพระโอรสองค์เล็กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ซึ่งทรงประสูติแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ นับ เป็นพระราชโอรสองค์เล็กสุด
ประสูติ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิการยน พ.ศ. 2436 ตรงกับวันพุธ แรม 14 คํ่า เดือน 11 ปีมะเส็ง ทรงพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดช
กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา
เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา
พระองค์ได้เข้าศึกษา ในวิทยาลัยทหารบก ณ
ประเทศอังกฤษจนจบและได้เสด็จกลับมารับราชการในรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราชของพระองค์ โดยได้รับยศเป็นนายพันโททหารบกมีตําแหน่งเป็นราชองครักษ์
และผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม
ต่อมาภายหลังได้เลื่อนตําแหน่งเป็นลําดับจนเป็นนายพันเอก
มีตําแหน่งเป็นปลัดกรมเสนาธิการทหารบก
ก่อนขึ้นครองราชสมบัติมีตําแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่
7
ด้านการทำนุบำรุงบ้านเมือง
เศรษฐกิจ
สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ
ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย
พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้งบดุลอย่างดีที่สุด
โดยทรงเสียสละตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ โดยมิได้ขึ้นภาษีให้ราษฎร เดือดร้อน
การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ขยายการสื่อสารและการคมนาคม โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร
การส่งเสริมกิจการสหกรณ์ให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมกันประกอบกิจการทางเศรษฐกิจ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ขึ้น
ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งนับเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยในสมัยนั้น ติดเครื่องปรับอากาศ เพื่อเป็นสถานบันเทิงให้แก่ผู้คนในกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตหัวเมือง ทรงได้จัดตั้ง สภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตกขึ้น เพื่อทำนุบำรุงหัวหินและใกล้เคียงให้เป็นสถานที่ตากอากาศชายทะเลแก่ประชาชนที่มาพักผ่อน
ในปี พ.ศ. 2475 เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯและธนบุรี เป็นการขยายเขต เมืองให้กว้างขวาง และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ขยายการสื่อสารและการคมนาคม โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร
การส่งเสริมกิจการสหกรณ์ให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมกันประกอบกิจการทางเศรษฐกิจ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ขึ้น
ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งนับเป็นโรงภาพยนตร์ทันสมัยในสมัยนั้น ติดเครื่องปรับอากาศ เพื่อเป็นสถานบันเทิงให้แก่ผู้คนในกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตหัวเมือง ทรงได้จัดตั้ง สภาจัดบำรุงสถานที่ชายทะเลทิศตะวันตกขึ้น เพื่อทำนุบำรุงหัวหินและใกล้เคียงให้เป็นสถานที่ตากอากาศชายทะเลแก่ประชาชนที่มาพักผ่อน
ในปี พ.ศ. 2475 เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯและธนบุรี เป็นการขยายเขต เมืองให้กว้างขวาง และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล(รัชกาลที่๘)
พระราชประวัติรัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
(ประสูติ พ.ศ. 2468 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2472
- พ.ศ. 2489)
มีพระนามเดิมว่า
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ตรงกับวันขึ้น 3 คํ่า เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลแบร์ก
ประเทศเยอรมันนี ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
กรมหลวงสงขลานครินทร์ และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงมีพระพี่นางและพระอนุชาร่วมสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีเดียวกันคือ
1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
2. สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช
พ.ศ. 2472 สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์เสด็จทิวงคต
พ.ศ. 2474 พระองค์ได้เสด็จไปทรงศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต
พ.ศ. 2476 เสด็จพระราชดําเนินไปทวีปยุโรป ประทับ ณ เมืองโลซานน์ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
พ.ศ. 2477 ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม
พ.ศ. 2477 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ไม่มีพระราชโอรสและพระราชธิดาที่จะสืบราชสันตติวงศ์
และด้วยความเห็นชอบของผู้สําเร็จราชการแผ่นดินที่ได้ดําเนินการไปตามกฎมณเฑียรบาล
พ.ศ. 2481 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ได้เสด็จพระราชดําเนินกลับเยี่ยมประเทศไทยพร้อมด้วยสมเด็จพระชนนี
สมเด็จพระพี่นางเธอและสมเด็จพระเจ้าน้องเธอ
ได้ทรงประประทับอยู่ที่พระตําหนักจิตรลดารโหฐานประมาณ 2 เดือน จึงเสด็จไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อเข้าศึกษาวิชานิติศาสตร์
และการปกครองในมหาวิทยาลัยประเทศนั้น
พ.ศ. 2488 วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ
จึงเสด็จกลับมาถึงประเทศไทยอีกครั้งหนึ่ง และในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ได้ทรงประทับอยู่ ณ
พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวังผู้สําเร็จราชการแทนคนล่าสุดคือ นายปรีดี
พนมยงค์ ได้ถวายพระราชภารกิจแด่พระองค์เพื่อได้ทรงบริหารเต็มที่ตามพระราชอํานาจ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช(รัชกาลที่๙)
พระราชประวัติรัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(ประสูติ พ.ศ. 2470 ขึ้นครองราชย์
พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน)
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ
เมืองเคมบริจดจ์มลรัฐเมสสาชูเสท ประเทศสหรัฐอเมริกา ทรงเป็นพระราชโอรสาธิราช
องค์ที่ 3 ในสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (
สมเด็จพระศรีนครินทรทรา บรมราชชนนี ) พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์เล็ก
ทรงมีพระเชษฐาธิราชว่า " พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล "
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ รัชกาลที่ 8 และมีพระพี่นาง
พระนามว่า " สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา "
พระองค์ได้เสด็จกลับเถลิงถวัลยราชสมบัติต่อจากพระบรมเชษฐาเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ขณะมีพระชันษา 19 ปี
ก่อนครองราชย์ได้ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และได้เสด็จกลับไปศึกษาวิชานิติศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ต่ออีกภายหลังที่ได้ครองราชย์แล้ว
ทรงสนพระทัยในอักษรศาสตร์
และการดนตรีทรงรอบรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษาและตรัสได้อย่างคล่องแคล่ว
จนเป็นที่ประจักษ์แก่คณะทูตานุทูตและประชาชนชาวเมืองนั้นๆ เป็นอย่างดี
ต่างพากันชมว่า พระองค์ทรงมีความรู้ทันสมัยที่สุดพระองค์หนึ่ง
สําหรับดนตรีนั้นทรงประพันธ์เนื้อร้องและทํานองเพลงแด่คณะวงดนตรีต่างๆ
มีเพลงพระราชนิพนธ์ที่คนไทยรู้จักเช่น เพลงสายฝน เพลงประจํามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์
เพลงประจํามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พระองค์เคยเข้าร่วมวงดนตรีกับชาวต่างประเทศมาแล้ว
โดยไม่ถือพระองค์
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร(รัชกาลที่10)
พระนามเต็ม รัชกาลที่ 10 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
พระนามเดิมของพระองค์ เดิมว่า สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรง สุบริบาล
อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์
บรมขัตติยราชกุมาร ซึ่งเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว
ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระองค์ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕
เมื่อเวลา ๑๗ นาฬิกา ๔๕ นาที ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
ทรงได้รับการศึกษาระดับอนุบาลศึกษาที่พระที่นั่งอุดร พระราชวังดุสิต
และทรงเข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนจิตรลดา
ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๙๙ –๒๕๐๕ ที่ประเทศอังกฤษระหว่างพุทธศักราช
๒๕๐๙ – ๒๕๑๓
หลังจากนั้นได้ทรงศึกษาระดับเตรียมทหารที่โรงเรียนคิงส์ นครซิดนี่ย์
ประเทศออสเตรเลีย แล้วเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ทรงได้รับปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต (การศึกษาด้านทหาร) คณะการศึกษาด้านทหาร
จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลล์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙
บทที่3
วิธีการดำเนินโครงงาน
ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องประวัติรัชสมัยรัชกาลที่
1-10 ผู้จัดทำมีวิธีการดำเนินการโครงงาน ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
3.1วิธีการดำเนินการโครงงาน
3.1.1เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
3.1.2เว็บไซต์ที่ให้บริการคือเว็บบล็อกwww.blogger.com
3.1.3เว็บไซต์ที่ใช้ในการติดต่อ
3.2ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.2.1คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
3.2.2ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ต่างๆและเก็บข้อมูลไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาต่อไปค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจคือเรื่องประวัติรัชสมัยรัชกาลที่
1-10 ว่ามีเนื้อหามากน้อยเพียงใด และต้องถูกต้องตามจริง
3.2.3ศึกษาการสร้างเว็บบล็อกจากเว็บไซต์ต่างๆ และจากเอกสารที่ครูประจำวิชากำหนด 3.2.4จัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์เรื่องที่ได้ศึกษาค้นคว้าเอาไว้ในตอนแรก
3.2.5เผยแพร่ผลงานโดยการนำเสนอผ่านทางเว็บบล็อกwww.blogger.com
3.2.6ทำเอกสารสรุปรายงานโครงงาน
3.3วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
3.3.1ศึกษาเรื่องประวัติรัชสมัยรัชกาลที่
1-10
บทที่4
ผลการดำงาน
การจัดการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่องประวัติรัชสมัยรัชกาลที่ 1-10มี เนื้อหาเกี่ยวกับราชวงศ์
ต่างๆของไทยในสมัยนั้นๆมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้มีผลการดำเนินงานโครงงาน
ดังนี้
4.1) ผลการพัฒนาโครงงาน
การพัฒนาโครงงาน
เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติรัชมัยรัชกาลที่ 1-10 คณะผู้จัดทำได้
มีการดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้และได้นำเสนอผลงานผ่านทางระบบ
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาทุกสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในแหล่งโลกออนไลน์และรวดเร็วสำหรับการรับข้อมูล
บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน / ข้อเสนอแนะ
การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อเพื่อการศึกษาประวัติรัชสมัยรัชกาลที่
1-10 สามารถดำเนินงาน
โครงงานข้อเสนอแนะดังนี้
5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
5.1.1 วัตถุประสงของโครงงาน
1.เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับ ประวัติรัชสมัยรัชกาลที่ 1-10
5.1.2 วัสดุ อปุกรณ์ เครื่องมือ
หรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน
1.
เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงานการดำเนินงานโครงงานนี้บรรลุววัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้
คือเพื่อเป็น สื่อใหค้วามรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประวัติรัชสมัยรัชกาลที่
1-10 ช่วยพัฒนาให้ความรู้ของผู้ชม มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญของประวัติรัชสมัยรัชกาลที่
1-10
5.3 ข้อเสนอแนะ
\
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น